30/3/51

งานวิจัย เรื่อง กระบวนการสืบทอดการทำขนมลา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ขนมลาเป็นขนมไทยทางภาคใต้ชนิดหนึ่ง ชื่อของขนมลา อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตาบุคคลโดยทั่วไปมากนัก เนื่องจากแปลกทั้งชื่อและรูปแบบ เพราะเป็นขนมพื้นบ้านของท้องถิ่น อาจจะรู้จักกันเพียงคนภาคใต้โดยเฉพาะ จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งที่ทำขนมลากันมากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้มีการบันทึกเอาไว้มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือขนมลาบ้านศรีสมบูรณ์(หอยราก ) ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ อยู่ในเขตชุมชนชนบท คือหมู่ที่ 2 บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อาชีพของประชาชนส่วนใหญ่คือการทำขนมลา ซึ่งเริ่มทำมาประมาณ 70-80 ปี ชุมชนนี้มีชื่อเสียงด้านการทำขนมลาเก่งและมีรสชาติอร่อยมากสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันขนมลาบ้านศรีสมบูรณ์เป็นสิ้นค้าที่ทำรายได้ให้กับชุมชนและยังเป็นสินค้าOTOP ของตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เทคนิคและขั้นตอนการทำขนมลาให้มีคุณภาพได้รสชาติเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องขนมลาเพื่อจะได้ทราบถึงขั้นตอน กระบวนการทำขนมลา ตลอดจนรูปร่างลักษณะ รสชาติ เป็นอย่างไร และต้องการทราบถึงการสืบทอดการทำขนมลาของคนในอดีตมาให้ลูกหลานในปัจจุบันตลอดถึงการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญา ในการทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาความเป็นมาของการสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมลาสู่ลูกหลานในปัจจุบันของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.เพื่อศึกษาขั้นตอนและกระบวนการ ทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
3.เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริม ภูมิปัญญา ในการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประโยชน์ของการวิจัย
1.ทราบกระบวนการ ขั้นตอนการทำขนมลา และประเพณีที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งการสืบทอดภูมิปัญญาของการทำขนมลาสู่ลูกหลาน และแนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริม ภูมิปัญญา ในการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.เป็นข้อมูลให้ชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ และภาคราชการ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง หาแนวทางพัฒนา อนุรักษ์ ถ่ายทอด ทำนุบำรุงภูมิปัญญาของการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้คงอยู่ต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนการทำขนมลา การสืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน และแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทำการสำรวจและเก็บข้อมูลโดยคณะผู้ศึกษา โดยการ สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จากบุคคลในชุมชนที่เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาเรื่องขนมลา จำนวน 5 คน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ทรงภูมิปัญญาเรื่องขนมลาในชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 คน ทำการศึกษาในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงเดือน กันยายน 2550

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างแบบสัมภาษณ์ขึ้นเองตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยโดยเนื้อหาของการสัมภาษณ์มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่1.เป็นคำถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ เวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน
ส่วนที่2.เป็นคำถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนการสืบทอดการทำขนมลา ขั้นตอนการทำขนมลา และแนวทางการอนุรักษ์ส่งเสริมภูมิปัญญาการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้จำแนกประเภทข้อมูลแต่ละประเภทที่ทำการศึกษาในขอบเขตของการวิจัย และนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมเป็นหมวดหมู่เรียบเรียงผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์

ผลการวิจัย
1.ประวัติความเป็นมาและการสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์
ขนมลาเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนคิด ทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏไม่มีใครทราบ ทราบแต่ว่าตอนจำความได้ก็มีการทำขนมลาแล้ว การทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อก่อนประมาณ 50-60 ปีที่แล้ว จะทำเฉพาะในช่วงเทศกาลงานเดือนสิบ ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ปัจจุบันทำขนมลาตลอดทั้งปี เพราะการทำขนมลากลายเป็นอาชีพของประชาชนในชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์
การทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ลูกหลานในชุมชนจะซึมซับความรู้ในการทำขนมลา จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายายเอง โดยการปฏิบัติจริง จากขั้นตอนต่างๆของการทำขนมลา โดยพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย เป็นผู้ใช้งานลูกหลานให้ช่วยทำขนมลาในขั้นตอนต่างและสอนแนะไปด้วยว่าขั้นตอนที่ทำถูกต้องหรือไม่ ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใดโดยให้ช่วยทำขนมลาและสอนแนะไปเรื่อยๆ จนลูกหลานสามารถจดจำและทำขนมลาได้ในที่สุด เด็กๆในชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ส่วนใหญ่จะสามารถทำขนมลาเป็น การสืบทอดการทำขนมลาก็จะถ่ายทอดสู่ลูกหลานเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

2.ขั้นตอนและกระบวนการทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์
การทำขนมลาของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ มีองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆดังนี้

เครื่องปรุงในการทำขนมลา
ในการทำขนมลามีเครื่องปรุงหลักเพียง 2 อย่างคือ
1. แป้ง ( ใช้แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเจ้า )
2. น้ำตาลปิ๊ป หรือน้ำตาลทรายหรือน้ำผึ้งจาก
นอกจากนี้จะมีน้ำมันมะพร้าว และไข่แดง เป็นเครื่องประกอบในการเช็ดกะทะ

วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา
1. เครื่องบดแป้ง
2 .เครื่องหนีบแป้ง
3. กระป๋องทอดขนมลา
4. กะทะทอดขนมลา
5. ภาชนะใส่แป้ง
6. เตาแก๊สหรือเตาถ่าน
7. ผ้ากรองแป้ง
8. เตาอบแปรรูปขนมลา
วิธีการทำขนมลา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
1.การเตรียมแป้ง
2.การผสมแป้ง
3.วิธีการโรยหรือทอด
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมแป้ง
การเตรียมแป้ง นำข้าวเจ้ามาผสมกับข้าวเหนียว (ข้าวเจ้า 1 ถัง : ข้าวเหนียว 4 กิโลกรัม) นำมาซาวให้เข้ากันแล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมง เสร็จแล้วล้างให้สะอาด นำมาใส่กระสอบหมักไว้ 2 คืน พอครบกำหนดก็ลองบีบเมล็ดข้าวดูว่าเปื่อยร่วนพอที่จะบดได้หรือยัง ถ้าเห็นว่าเปื่อยรวนแล้วหลังจากนั้นก็นำข้าวสารมาล้างให้หมดกลิ่น ถ้าหากหมดกลิ่นและดูว่าสะอาดแล้วก็นำไปวางให้สะเด็ดน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำแป้งไปบดให้ละเอียด เสร็จแล้วนำแป้งที่บดแล้วไปกรองด้วยผ้ากรอง 2 ครั้ง เพื่อให้ได้แป้งที่ขาวสะอาดและละเอียด เมื่อกรองเสร็จแล้วก็นำแป้งไปตั้งพักไว้เพื่อให้แป้งตกตะกอน เมื่อเห็นว่าแป้งตกตะกอนก็เทน้ำใสๆข้างบนทิ้งแล้วนำแป้งที่บรรจุถุงผ้าบางๆผูกให้เรียบร้อยจะได้เป็นรูปวงกลม แล้วนำไปใส่เครื่องหนีบแป้งใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อดูว่าแป้งแห้งสนิทแล้วจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว
ขั้นตอนที่ 2 วิธีการผสมแป้ง
นำแป้งที่แห้งแล้วไปตำให้ร่วน แล้วนำแป้งไปตี ใส่น้ำผึ้งจากหรือน้ำเชื่อม (น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปีบ) ใส่ที่ละนิดตีให้เข้ากันจนดูเป็นเนื้อเดียวกัน แป้งจะมีลักษณะเหลวข้น แล้วลองชิมดูจนเป็นที่พอใจ รสจะออกหวานๆ แล้วลองเอามือจุ่มดูเมื่อเห็นว่าแป้งโรยได้ไม่ขาดสายก็ใช้ได้

ขั้นตอนที่ 3 วิธีการโรยหรือทอด
ในการทอดขนมลาต้องใช้กะทะขนาดใหญ่ เตาไฟใช้ได้ทั้งเตาแก๊สและเตาถ่านแต่การใช้เตาแก๊สสามารถปรับระดับความร้อนได้ดีกว่า เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำกะทะตั้งบนไฟอ่อนๆ แล้วเอาน้ำมันผสมไข่แดงเช็ดกะทะให้ทั่วแล้วนำแป้งใส่กระป๋องที่เจาะรูที่ก้นเป็นรูเล็กๆจำนวนมาก แล้วนำไปโรยลงกะทะหลายๆครั้งจนได้ขนาดที่ต้องการ แต่ต้องไม่ให้หนาหรือบางเกินไปเมื่อขนมลาในกะทะสุกจะเป็นแนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาการทำขนมลา
3.แนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาในการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์
ได้ดำเนินการปลูกฝังให้ลูกหลานทุกคนในชุมชนให้ทำขนมลาเป็น โดยการสอนแนะ จากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และให้ลูกหลานร่วมช่วยในกิจกรรมการทำขนมลาตลอดมา ซึ่งกิจกรรมที่สืบทอดมาโดยตลอด ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาคือ การจัดงานวันขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ซึ่งการจัดงานวันขนมลาเป็นกิจกรรมประจำปี ของชุมชน จะมีการขายขนมลาราคาถูก ในช่วงเทศกาลเดือนสิบของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช มีชาวบ้านในชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ นำขนมลามาขายในราคาถูกกว่าราคาปกติ ซึ่งจะจำหน่ายเป็นเวลา 2 วัน นอกจากนี้จะมีหน่วยงานของทางราชการ จัดให้มีการประกวดการทำขนมลา เกณฑ์การตัดสินการประกวด ก็ดูความสวยงามของผลิตภัณฑ์ขนมลา รสชาติ ความอร่อยของขนมลา ซึ่งงานจะจัดขึ้นหน้าชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ผู้นำชุมชนจะส่งกลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมลา และสาธิตการทำขนมลาในงานแสดงสินค้าต่างๆ ในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครฯ มาโดยตลอด พร้อมทั้งเต็มใจให้ข้อมูลกระบวนการขั้นตอนการทำขนมลาแก่ผู้สนใจ ที่ขอทราบข้อมูลเป็นอย่างดี ชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ยังยินดีเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักเรียนนักศึกษาที่สนใจเรื่องขนมลาและชาวบ้านชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยี่ยมเยือนชุมชน และพร้อมจะจำหน่ายขนมลาราคาถูกแก่ผู้มาเยือนทุกท่าน
ชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความคิดว่าภูมิปัญญาการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์จะไม่มีวันสูญหายไป จะอยู่คู่กับชุมชนตลอดไปเพราะชุมชนได้ปลูกฝังให้ลูกหลานในชุมชนทำขนมลาเป็นและถ่ายทอดสู่ลูกหลานไปเรื่อยๆ
สีเหลืองกรอบ จะต้องตั้งไว้สักพักหนึ่งก่อน รอให้ขนมลานิ่มก่อนแล้วจึงจะเก็บไว้ ขนมลาสำเร็จรูปแผ่นกลมๆ หรือเรียกว่าลาแผ่น จะมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน